วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คุณเชื่อเรื่องน้ำจะท่วมโลกหรือไม่...แล้วคุณรับมือกับมันอย่างไร

เข้าใจว่าคงเกี่ยวกับสถานการณ์อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นใช่มั้ยครับ คงไม่เกี่ยวกับการตีความเรื่องเล่าในคัมภีร์โบราณ

อุณหภูมิของโลกกำลังสูงขึ้นจริงครับ แต่ไม่เกี่ยวกันโดยตรงกับที่เรารู้สึกว่าร้อนขึ้น ตรงนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมในเมืองบางแห่งที่ร่มเงาลดลง พื้นผิวที่สะท้อนแสงมากขึ้น การไหลเวียนของอากาศ (ทิศทางลม) ที่เปลี่ยนไป
โลกร้อนขึ้นเป็นการมองโดยรวมครับ หมายถึงรวมผิวของมหาสมุทร ซึ่งครอบคลุม 3 ใน 4 ของโลกนี้ด้วย เป็นผลของการสะสมความร้อนมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก

สิ่งที่จะเป็นผลจากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นก็คือ น้ำแข็งในบริเวณที่มีอุณหภูมิใกล้จุดเยือกแข็งจะละลายเป็นน้ำ (น้ำแข็งในพื้นที่ที่เย็นกว่าจุดเยือกแข็งมากๆจะยังเป็นน้ำแข็งอยู่เช่นเดิม ) เขตหนาวจะหดเล็กลง

น้ำแข็งบริเวณรอบขั้วโลกเหนือ จะอยู่ในรูปของภูเขาน้ำแข็ง การละลายของภูเขาน้ำแข็งเหล่านี้ไม่มีผลกับระดับน้ำในมหาสมุทรครับ
ลองเอาน้ำแข็งใส่แก้ว แล้วเติมน้ำจนเต็มขอบแก้ว ทิ้งไว้ให้น้ำแข็งละลาย เราจะพบว่าน้ำไม่ล้นออกมา
เพราะน้ำเท่าเดิม เปลี่ยนจากของแข็งเป็นของเหลวเท่านั้น
น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือก็เช่นกันครับ

น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกไต้มีบางส่วนที่อยู่บนพื้นทวีปแอนตาร์กติกา แต่น้ำแข็งส่วนนี้ก็อยู่ในพื้นที่ที่เย็นกว่าจุดเยือกแข็งมาก น้ำแข็งส่วนที่ละลายจะเป็นภูเขาน้ำแข็งนอกชายฝั่งเช่นกัน
น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย จึงไม่มีผลกับระดับน้ำในมหาสมุทรโดยตรงครับ

ภาวะโลกร้อนทำให้ระดับน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้นจริง แต่เป็นเพราะน้ำแข็งที่อยู่ในเขตอื่น เช่นบนยอดเขาหิมาลัย ยอดเขาคิลิมันจาโร และยอดเขาสูงอื่นๆ
ยอดเขาพวกนี้จะเป็นต้นน้ำด้วย โดยเป็นต้นน้ำที่มาจากการละลายของหิมะและน้ำแข็งที่เคลื่อนตัวตามธารน้ำแข็ง ที่ระดับสูงขึ้นไป ไหลลงมาสู่ระดับที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง
แหล่งน้ำของยอดเขาพวกนี้จะคล้ายๆกับฝน แต่อยู่ในรูปของหิมะที่ตกบนยอดเขา
แม่น้ำโขงเป็นตัวอย่างที่ใกล้ตัวเราที่สุดของแม่น้ำที่มีแหล่งกำเนิดมาจากการละลายของหิมะบนยอดเขาหิมาลัย
ต่างจากต้นน้ำในป่าดงดิบเขตร้อนนะครับ ที่มาจากป่าซับน้ำฝน

ภาวะโลกร้อนทำให้ระดับของรอยต่ออุณหภูมิขยับตัวสูงขึ้น ทำให้มีหิมะและน้ำแข็งสะสมน้อยลง สังเกตได้ชัดที่คิลิมันจาโร ที่ขอบของหิมะยกสูงขึ้นมาก
หิมะและน้ำแข็งที่สะสมน้อยลง หมายถึงน้ำปริมาณเดียวกันกับที่หายไป ละลายลงสู่แม่น้ำ และสู่มหาสมุทรมากขึ้นด้วยครับ
ผลโดยตรงก็คือ ระดับน้ำในมหาสมุทรสุงขึ้น สูงพอที่จะทำให้เมื่อต้นปีนี้ ประเทศเล็กๆชื่อ Tuvalu อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค นอกฝั่งนิวซีแลนด์ กำลังจะจมน้ำทั้งประเทศ และประชากร Tuvalu กำลังทยอยอพยพสู่นิวซีแลนด์

ผลกระทบอีกอย่างหนึ่งคือ น้ำหนักที่กดลงยอดเขาและถ่ายลงสู่แผ่นทวีป (Tectonic plates) มีน้อยลง ทำให้การเคลื่อนตัวของแผ่นทวีปมีลักษณะเปลี่ยนไป อาจนำไปสู่แผ่นดินไหวได้ง่ายขึ้นด้วย

ระดับน้ำในมหาสมุทรที่สูงขึ้น ย่อมมีผลกับชายฝั่งแน่นอนครับ พื้นที่ชายฝั่งจะร่นขึ้นไปอีก รวมทั้งกรุงเทพฯด้วย

ส่วนการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจากนี้จะเป็นไปได้อย่างน้อยสองทางคือ
1. ค่อยๆเพิ่มขึ้น หรือจะ
2. ข้ามพ้นจุดวิกฤติจุดหนึ่งแล้วเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตอนนี้ยังไม่มีใครทำนายได้ครับ มนุษย์ยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของสภาพอากาศของโลกจำกัดมาก ดูได้จากขีดจำกัดของการพยากรณ์อากาศ

แต่โลกกำลังร้อนขึ้นแน่ๆครับ

ถามว่า เราจะรับมืออย่างไร
คำตอบในระดับจุลภาค หรือวิธีรับมือของผู้คนทั่วไป ก็คงจะเป็นคำตอบในระยะสั้นเฉพาะหน้า คือการเตรียมโยกย้ายจากพื้นที่น้ำท่วมถึงครับ หรือปรับแนวทางดำเนินชีวิตให้เหมาะกับการอาศัยบนผิวน้ำเช่นบ้านที่ลอยอยู่บน ผิวน้ำ เดินทางด้วยเรือ หรือหากเป็นพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงสลับกันระหว่างพื้นดินกับพื้นน้ำตามระดับ น้ำ ก็อาจจะเป็นบ้านไต้ถุนสูง รถยนต์ที่มีตัวถังสูง

คำตอบในระดับมหภาคและแนวทางในระยะยาวก็คือการไม่ทำให้อุณหภูมิของอากาศสูงขึ้นอีกโดยไม่เติมก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่บรรยากาศ
แหล่งพลังงานฟอสซิลเช่นปิโตรเลียม เป็นคาร์บอนที่ธรรมชาติซับจากอากาศไปเก็บไว้ไต้ดินโดยเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานับล้านปี
การใช้พลังงานปิโตรเลียม ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือก๊าซ ก็คือการนำเอาคาร์บอนที่ธรรมชาติซับไว้ กลับสู่บรรยากาศอีกครั้ง โลกกลับไปร้อนอีกครั้ง

เราหยุดกระบวนการนี้โดยการลดการใช้พลังงานฟอสซิลลงจนหมด และใช้พลังงานทดแทน ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องจักรเดิมได้ เช่นไบโอดีเซล แอลกอฮอล์
เชื้อเพลิงพวกนี้ใช้กับเครื่องจักรต้นกำลังที่มีอยู่เดิมได้เป็นส่วนใหญ่ จึงพัฒนาได้เร็วที่สุด
พลังงานชีวภาพแม้จะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศในขณะเผาไหม้เช่นเดียว กับเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่การผลิตเชื้อเพลิงซึ่งมักจะผลิตจากพืช เป็นกระบวนการที่พืชดึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงในเวลากลางวันไปสะสมในรูปของเนื้อเยื่อของพืช ซึ่งในที่สุดนำเอามาทำเชื้อเพลิง หมุนเวียนกันไป ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจึงค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบกับการใช้เชื้อ เพลิงฟอสซิล

หรืออาจใช้พลังงานจากแหล่งอื่น เช่นลม คลื่น ซึ่งเป็นผลจากความร้อนจากดวงอาทิตย์เช่นกัน แต่สื่อในการส่งผ่านพลังงานส่วนใหญ่คือไฟฟ้า ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรต้นกำลังค่อนข้างมาก ใช้เวลาในการพัฒนาจากนี้อีกพอสมควร

หรือใช้พลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็ยังมีขีดจำกัดในเรื่องสภาพแวดล้อมประเด็นอื่น
รวมทั้งปัจจัยด้านการเมือง ที่ผู้ผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ได้ ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มประเทศมหาอำนาจเท่านั้น ทำให้ประเทศขนาดเล็กขาดอิสระในด้านนโยบายพลังงานหากพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์

แนวทางนั้นมีอยู่ และเวลากำลังใกล้เข้ามาแล้วค่ะ